หัวเข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน ข้อเข่าเสื่อม - Interpharma Group

หัวเข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน ข้อเข่าเสื่อม

เป็นหรือเปล่า? เวลาเดินขึ้น-ลง บันได หัวเข่ามีเสียง “ก๊อกแก๊ก” มีอาการปวดตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมาก ๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ หรือในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น อาการเหล่านี้นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม ตรวจเช็คอาการก่อนจะสายเกินไป

อาการเสียงก๊อกแก๊กที่ดังจากหัวเข่ามีได้ 2 ลักษณะ คือ

  • แบบที่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย อาการนี้พบเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เป็นเวลานานๆ เช่นการนั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้เตี้ย เสียงดังในลักษณะนี้เกิดจากการขบกันของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นในข้อเข่า โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เป็นปัญหาใดๆ
  • แบบที่มีเสียงร่วมกับอาการปวด หรือรู้สึกข้อเข่าไม่มั่นคง บางครั้งอาจทำให้เสียวเข่าได้ เสียงที่ดังก๊อกแก๊ก หรือรู้สึกเข่าลั่น ร่วมกับอาการปวดเข่า อาจเกิดจากความผิดปกติบริเวณหัวเข่า เช่น ข้อเข่าเสื่อมจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระ หรือมีนำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อย ส่งผลให้เกิดการแทกระหว่างผิว ย่อมทำให้เกิดเสียงได้มากขึ้น หรือมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงดังเมื่อมีการขยับข้อเข่าได้เช่นกัน

โรคข้อเสื่อม คืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคนและพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของโรคเกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงอย่างช้าๆ หรือผิวข้อสึกกร่อน จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ ซึ่งได้แก่ มีน้ำสะสมในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกงอกผิดปกติ กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อหย่อนยาน เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ถ้าเกิดอาการเรื้อรังกระดูกจะมีการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ก็จะทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด และมีเสียงดังในผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้วจะมีแนวแกนขาผิดปกติ ขาอาจโก่งเข้าด้านในหรือบิดออกนอก และทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวจะทำให้เคลื่อนไหวของข้อต่างๆ เป็นไปอย่างจำกัด รวมทั้งทำให้เกิดอาการปวดและบวมที่ข้อได้

โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น ข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมมักทำให้เกิดความรำคาญเนื่องจากจะทำให้มีอาการปวดหรือไม่สบายข้อเมื่อต้องยืนหรือเดิน ในขณะที่ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมจะเป็นเหตุให้ปวดหลังและปวดต้นคอ หรือคอแข็งตึงได้ แม้ว่าข้อเสื่อมจะพบในข้อที่ต้องรับน้ำหนัก แต่ก็สามารถพบที่ข้อต่างๆ ทั่วร่างกายได้โดยเฉพาะข้อที่เคยได้รับการบาดเจ็บ มีการติดเชื้อ หรือเคยมีข้ออักเสบนำมาก่อน สำหรับผู้ที่ข้อนิ้วมือเสื่อมจะมีอาการปวด ชา หรือแข็งตึงขยับนิ้วลำบาก และตรวจพบก้อนหรือปุ่มกระดูกโตขึ้นที่บริเวณข้อนิ้วมือด้วย

ส่วนใหญ่อาการปวดของโรคข้อเสื่อมมักเกิดในระหว่างที่มีการใช้งานของข้อและจะดีขึ้นเมื่อได้พัก อาจมีอาการฝืดตึงข้อช่วงสั้นๆไม่นานเกินกว่าครึ่งชั่วโมงในช่วงเช้าหลังตื่นนอนหรือภายหลังอยู่ในอิริยาบถท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น หลังจากขับรถ นั่งนานๆ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจมีอาการปวดข้ออย่างมาก และปวดรุนแรงเมื่อใช้งาน รวมทั้งขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพของข้อได้

สาเหตุของการเกิดโรคข้อเสื่อม

ตามปกติภายในข้อประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ น้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนผิวข้อ กระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อและป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง ข้อเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวข้อตามกาลเวลา เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงภายในข้อ และร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการที่ถูกทำลายไป  เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอ ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ทำให้มีอาการเจ็บปวดในการใช้ชีวิตประจำวัด โดยไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะสาเหตุของการเสื่อมของข้อเข่ามีหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  1. น้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลให้เกิดแรงกดภายในข้อที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งเซลล์ไขมันที่มีมากเกินไปจะส่งผลทำให้เซลล์กระดูกอ่อน และเซลล์กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  2. กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ การวิ่งมาราธอน การเดินขึ้น-ลงบันได
  3. ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ
  4. อายุ อายุมากมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายก็ไม่พบโรคข้อเสื่อม แต่ถ้าเป็นโรคข้อเสื่อมมักไปเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้น และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 40% 2.เพศ เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า
  5. โรคประจำตัวที่มีผลกับข้อเข่า เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์

จะดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมขึ้นได้ เช่น การปรับเตียงให้สูงขึ้น เปลี่ยนจากส้วมซึมชนิดนั่งยองๆ เป็นชักโครกแทน เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการทำให้ข้อบาดเจ็บซ้ำๆ หรือการกระทบกระแทกต่อข้อ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนการลดน้ำหนักลงจะช่วยลดอาการปวดและชะลอการทำลายข้อลงได้

ข้อควรจำ

  • โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด
  • โรคข้อเสื่อมสามารถพบร่วมกับโรคข้ออักเสบอื่นได้
  • ผู้ที่สงสัยเป็นโรคข้อเสื่อมควรได้รับการประเมินจากแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและคงการทำงานของข้อ
  • ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่พิสูจน์ว่าสามารถทำให้ข้อเสื่อมหายขาดหรือทำให้ข้อกลับคืนสู่สภาพปกติได้ คงต่อรอการศึกษาต่อไป

 เช็คอาการ “ข้อเข่าเสื่อม”

       คุณอาจกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากมีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อ

  1. ปวดเข่า บริเวณข้อ ปวดเรื้อรัง ปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน และทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน
  2. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อขยับเคลื่อนไหว
  3. ข้อเข่าตึง ฝืด เมื่อพักการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน
  4. ปวดเสียวที่ข้อเข่าเมื่อขึ้น-ลงบันได
  5. เข่าเปลี่ยนรูป เกิดจากการเสื่อมของเข่า และเกิดกระดูกงอก ทำให้เข่าเปลี่ยนรูป

“โรคข้อเข่าเสือม” ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาแบบควบคุมอาการปวดได้ และทำให้ข้อเข่าสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ หรือเหมือนเดิมให้มากที่สุด และป้องกันการผิดรูปของข้อเข่าอีกด้วย หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้  ทั้งนี้การรักษานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน

อาหารสำหรับบำรุงข้อกระดูก

แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับผู้ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเน้นเป็นอาหารไขมันต่ำ และเน้นให้ทานผักผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วน หรือคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก ควบคู่กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่าง ๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมันปลา แต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส หรือสารสกัดจากขมิ้นชัน ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบตามธรรมชาติได้เช่นกัน สำหรับอาหารที่ควรพิจารณาเข้าไว้เป็นประจำ ก็คือ

  • ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 มาก อย่างปลาทะเลลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลากระบอก ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อน เป็นต้น หรืออาจจะรับประทานในรูปแบบของอาหารเสริม เช่น ผงกระดูกอ่อนปลาฉลาม น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา แคลลาเจนจากปลาทะเล ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จำเป็นมากโดยเฉพาะผู้เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ธัญพืชที่ไม่ขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮสวีด จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ สำหรับถั่วไม่ควรกินมาก เพราะมีแคลอรี่สูง
  • ผักผลไม้ เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ กล้วยที่เป็นแหล่งโพแทสเซียม และใยอาหารควรกินอย่างน้อยให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แม้กระทั่งขิง ชมิ้นชัน ดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็พบว่ามีสารช่วยลดอาการอักเสบตามธรรมชาติได้เช่นกัน จึงควรกินอย่างน้อย 5 กรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมไปถึงขึ้นฉ่าย ฝรั่ง หรือเซเลอรีนั้น ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรบริโภคถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้จากน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนอาหารที่ควรงดไปเลย หรือกินเพียงเล็กน้อย คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดสีจนขาว และอาหารรสเค็มจัด หรือหวานจัด ลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เนยแข็ง น้ำมันมะพร้าว

ที่มาของข้อมูล: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพ

VitaHealth ขอแนะนำคู่หูบำรุงข้อต่อ

Marine Complex – ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากกระดูกอ่อนปลาฉลาม คอลลาเจนจากปลาทะเล น้ำมันปลา และน้ำมันตับปลา
#คุณประโยชน์ – ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม เกาต์ ฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อ และเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงในข้อต่อ
Marine Complex ขนาดบรรจุ 60 ซอฟเจล
1 กระปุก ราคาปกติ 1,420 บาท เหลือ 1134 บาท
หรือ ซื้อ 3 แถม 1 ในราคา 4260 บาท
ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากนิวซีแลนด์
Expiry date: 10/21/2022
Turmercumin – ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากขมิ้นชัน เป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติ ให้สารสำคัญในกลุ่มเคอร์มินอยด์
#คุณประโยชน์ – ต้านอาการอักเสบของข้อต่อ ลดอาการข้อเสื่อม ลดอาการของโรคเกาต์ มีส่วนช่วยป้องกันและควบคุมการลุกลามของมะเร็ง
Turmercumin ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล
1 กระปุก ราคา 700 บาท
หรือ ราคาพิเศษ!!! ซื้อ 2 กระปุก ราคา 1,120 บาท
ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากมาเลเซีย
Expiry date: 2023/08/31
 

PROMOTION 

Marine Complex 1 กระปุก x Turmercumin 2 กระปุก
ราคาพิเศษ 2,254 บาท จากปกติ 2,820 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสามารถสั่งซื้อโดยตรงได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
📱 Facebook : m.me/VitaHealthThailand
📱 Line@ : vitahealth | LINE Official Account หรือ @vitahealth
📱 Tel. : 094-9569536