“ไซโคไบโอติก” ส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตได้อย่างไร? - Interpharma Group

“ไซโคไบโอติก” ส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตได้อย่างไร?

ไซโคไบโอติก ส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตได้อย่างไร?

คุณเคยรู้สึกเหมือนปั่นป่วนในท้องในขณะที่กำลังมีความรู้สึกเขินอายกับภาพยนตร์รักเรื่องโปรดหรือเปล่า นี่เป็นเพียงการแสดงออกของร่างกายเล็ก ๆ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสมองของคุณกับระบบลำไส้ โดยมีตัวการสำคัญอย่าง “พรีไบโอติก” และ “โปรไบโอติก” เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง


ปัจจุบัน เรื่องเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารเป็นที่ยอมรับในแง่ของการช่วยให้ระบบการทำงานภายในร่างกายดีขึ้น แต่ยิ่งไปกว่านั้น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ยังมีความสามารถที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย โดยการวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้พบว่าสุขภาพลำไส้ที่ดีจากโปรไบโอติก และพรีไบโอติกนั้นมีผลต่อสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญ


Gut-brain axis ลำไส้คือสมองที่ 2 ของร่างกาย

ในความจริงแล้ว สมองและลำไส้สามารถติดต่อสื่อสารไปกลับกันได้ผ่านเส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) ในแนวไขสันหลัง เลือด และสารสื่อประสาทมากมาย ซึ่งทำงานร่วมกันระหว่างระบบประสาทและฮอร์โมน รวมถึงมีผลต่อการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร เมแทบอลิซึมอีกด้วย

ในปี 2013 ศาสตราจารย์เท็ด ดินัน จิตแพทย์ประจำคลินิก และศาสตราจารย์จอห์น ไครอัน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา ค้นพบว่าแบคทีเรียในทางเดินอาหารส่วนล่างกว่า 30,000 สายพันธุ์นั้นทำหน้าที่ในการปล่อยโมเลกุลจำนวนมากที่มีอิทธิพลต่อสมองและพฤติกรรมผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกันวิทยา ต่อมไร้ท่อ และระบบประสาท ที่สามารถปรับปรุงการตอบสนองต่อความเครียด ลดความวิตกกังวล และลดผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าลำไส้และจุลินทรีย์เหล่านั้นมีต่อสุขภาพสมอง และเป็นที่มาของคำว่า Psychobiotics ซึ่งหมายถึงแบคทีเรียชนิดดีที่มีบทบาทในแกนลำไส้ และส่งผลต่อสุขภาพ – กิจกรรมของสมอง


บทพิสูจน์ Psychobiotics แบคทีเรียในลำไส้ที่ส่งผลต่อสมอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เบาะแสหลักที่ว่าแบคทีเรียในลำไส้ของเรามีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดนั้นมีที่มาจากงานวิจัยในหนูทดลอง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในลำไส้กำลังสร้างทางเดินระหว่างลำไส้และสมองของหนู ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคไบโพลาร์ รวมไปถึงออทิสติก มักเกี่ยวข้องกับปัญหาในลำไส้อย่างการอักเสบอีกด้วย

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ได้นำหนูทดลองมาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของแบคทีเรียกับความเครียดในสมอง และพบว่าความเครียดนั้นเกิดจากปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่ปกติ ส่งผลให้เกิดการอักเสบในลำไส้ ซึ่งสรุปได้ว่าโปรไบโอติกที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในหนู ไม่เพียงแต่ช่วยขจัดอาการอักเสบเท่านั้น แต่ยังช่วยลดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเครียดอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรจำนวนมากแสดงให้เห็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า รูปแบบความสัมพันธ์ของความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ากับรูปแบบของจุลินทรีย์ในลำไส้มีความเชื่อมโยงแบบเดียวกับเช่นเดียวกับในหนู โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้คนมากกว่า 1,000 คนในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ พบว่าแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การขาดหายไปของแบคทีเรียนั้นสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า


ในปัจจุบันมีการใช้ ไซโคไบโอติกส์ (Psychobiotics) ซึ่งเป็นโปรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่ออาการทางจิตเวชโดยเฉพาะ เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการรับประทานโปรไบโอติกทั่วไปจึงอาจไม่ได้ผลเท่าโปรไบโอติกชนิดที่เป็นไซโคไบโอติก ซึ่งมีงานวิจัยรับรองว่ามีประโยชน์ในการรักษาอาการผิดปกติทางอารมณ์ได้ ตัวอย่างเช่นโปรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus plantarum DSM 28632 (PS128) ที่มีผลในการลดความเครียด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ดี หลับง่าย และช่วยเสริมความจำ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพจิตได้เป็นอย่างดี


ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand