อายุที่เพิ่มขึ้น รู้ทันโรคกระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS)

อายุเพิ่มมากขึ้น ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายเรากลับยิ่งลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความแข็งแรงของกระดูก นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง “โรคกระดูกพรุน” (Osteoporosis) เป็นโรคของกระดูกที่มีมีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อกระดูกเสื่อม เปราะบาง หักได้ง่ายกว่าปกติ โรคกระดูกพรุน จัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ อัตราการเกิดกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนในแต่ละปีมีมากขึ้น ประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิง และร้อยละ 20 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะต้องเกิดกระดูกหักที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกพรุน และมีความเจ็บปวดทรมานจากกระดูกหักบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ แขนและขา ซึ่งมักจะเป็นผลสืบเนื่องจากการหกล้ม แต่ก็อาจเกิดจากกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ด้วย เนื่องจากกระดูกเปราะและหักได้ง่าย จากข้อมูลการศึกษาพบว่า กระดูกสะโพกหักเป็นภาวะกระดูกหักที่ร้ายแรงและบั่นทอนสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเองและผู้อยู่รอบข้าง อาจต้องพึ่งพาผู้อื่น หรืออย่างน้อยต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินไปเป็นระยะเวลานาน และประมาณร้อยละ 50 ที่จะต้องใช้ตลอดไป

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน

1. อายุ ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้น กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มช้าลง การทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอก็จะเป็นไปได้ช้าด้วย หากร่างกายขาดแคลเซียมในปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อแก่ตัวลง กระดูกก็จะเปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม เช่น การล้ม การกระแทก เป็นต้น

2. ฮอร์โมน การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงอย่างการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็อาจทำให้กระดูกพรุนและเปราะบาง ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง

3. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีญาติใกล้ชิดทางสายเลือดมีประวัติป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับพันธุกรรมของโรคดังกล่าวไปด้วย

4. ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น  

5. โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และกระเพาะ ลำไส้อักเสบ โรคทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน โรคความผิดปกติด้านการกิน โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคแพ้กลูเตน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก โรคมะเร็งเม็ดเลือด เป็นต้น

6. พฤติกรรมการบริโภค กินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูกและการเจริญเติบโต หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล อย่างอาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีความเป็นกรดสูง ดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ติดต่อกันปริมาณมากเป็นเวลานาน

7. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่งหรืออยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหักโหมล้วนส่งผลต่อสุขภาพกระดูกทั้งสิ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้สูง

8. การใช้ยาบางชนิด ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นกัน เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ เป็นต้น เพราะตัวยาบางชนิดจะออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการสร้างกระดูก อย่างยาเพรดนิโซโลน ยาเพรดนิโซโลน ที่มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและใช้รักษาอาการอักเสบ

อาการของโรคกระดูกพรุน

กระดูกปกติ (Normal bone) คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุดน

กระดูกโปร่งบาง (Osteopenia) คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด 1- 2.5 หรือต่ำกว่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูก สูงสุด 2.5 หรือต่ำกว่าของค่าเบียงเบนมาตรฐาน

กระดูกพรุนอย่างรุนแรง (severe or established osteoporosis) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ย ของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุดต่ำกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานร่วมกับมีกระดูกหัก


ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

การป้องกันแล้วจริงๆ ควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ปกติมวลกระดูกคนเราจะสะสมมาตั้งแต่ครรภ์มารดา และจะสูงที่สุดประมาณอายุ 30 ปี หลังจากนั้นเมื่ออายุ 40 – 60 ปี มวลกระดูกจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ ปัจจัยทางโภชนาการถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ถ้าเริ่มต้นด้วยกระดูกที่ไม่มีความแข็งแกร่งมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น การป้องกันที่ดีจึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่วัยที่มีการสะสมของมวลกระดูก ซึ่งก็คือช่วงวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น

1. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ปริมาณปกติที่คนทั่วไปต้องการแคลเซียมต่อวัน คือ 800 – 1,000 มก./วัน แต่บุคคล ตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ จะต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากกว่าคนทั่วไป คือ ประมาณ 1,500 มก./วัน หากปริมาณการรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอต่อวันการรับประทานอาการเสริมแคลเซียมก็สามารถช่วยได้ สำหรับการเลือกรับประทานวิตามินแคลเซียมเสริมควรทานคู่กับวิตามินดีจะทำให้กลไกในการดูดซึมในลำไส้ได้ดีมากขึ้น

2. ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดสูบบุหรี่ งดการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีสารคาเฟอีน

3. การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่ง นอกจากช่วยให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มมวลกระดูก

และกรดฟอสฟอริกที่มีเกลือแร่ฟอสเฟตซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน

4. ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่น ๆ