4 ประเภทของโรคเบาหวานและวิธีการดูแลรักษา

4 ประเภทของโรคเบาหวานและวิธีการดูแลรักษา

“เบาหวาน” หนึ่งในโรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด โดยจากสถิติในปี 2019 ระบุว่าคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานสูงถึง 4.8 ล้านคน ซึ่งความน่ากลัวของเบาหวานคือผลข้างเคียงที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา


เบาหวานสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและจากกรรมพันธุ์ โดยเราสามารถแบ่งชนิดของโรคเบาหวานออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการเกิดดังนี้


เบาหวานประเภทที่ 1 – Immune-mediated เป็นเบาหวานที่พบได้น้อยในประชากรไทยเนื่องจากเป็นภาวะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและจะพบในเด็กหรือวัยรุ่นที่อายุไม่เกิน 30 ปี สาเหตุเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ชนิดหนึ่งในตับอ่อนที่เรียกว่า Beta-cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างอินซูลินให้กับร่างกาย ดังนั้นการที่ภูมิคุ้มกันไปทำลาย Beta-cell จึงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยประเภทนี้มีอินซูลินไม่พอ และป่วยเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

วิธีการดูแลรักษา – ฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุกวัน


เบาหวานประเภทที่ 2 – Non-insulin dependent เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในหมู่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยจะพบได้มากในกลุ่มคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากภาวะการดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีสูงกว่าปกติจนเสี่ยงเกิดอันตราย

วิธีการดูแลรักษา – การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก หรือในบางกรณีก็อาจมีการฉีดอินซูลินร่วมด้วย


เบาหวานประเภทที่ 3 – Gestation diabetes เป็นภาวะเบาหวานที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีสูงกว่าปกติ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จะเป็นเกิดอันตรายต่อทั้งแม่และเด็กได้

วิธีการดูแลรักษา – การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และการใช้อินซูลิน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด


เบาหวานประเภทที่ 4 – Other specific types of diabetes เบาหวานประเภทสุดท้ายเป็นเบาหวานที่มีสาเหตุนอกเหนือจาก 3 ข้อแรกที่กล่าวมา แต่โดยหลักแล้วคือการที่ Beta-cell เกิดความผิดปกติทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ซึ่งปัญหานี้อาจมีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน, ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, การได้รับยาบางชนิด, หรืออายุที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

วิธีการดูแลรักษา – ต้องรักษาตามอาการและสาเหตุของการเกิดโรค


สำหรับคนที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน จะตระหนักได้ว่าโรคนี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะนอกจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์แล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตเองก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ดังนั้นเราควรจะดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ปรับโภชนาการให้เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานได้ไม่ยาก


ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand 

PreBS

ทางเลือกเพื่อป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวาน โดยสารสกัดจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ไม่สร้างภาระให้ไต