Check-list ความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Check-list ความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Check-list ความเสี่ยงโรคเบาหวาน

.

การเกิดโรคเบาหวานนั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย

.

แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อความผิดปกติทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลคั่งในเลือดในจำนวนที่มาก ทำให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นลุกลามจนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด

.

ทั้งนี้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่สาเหตุของการเกิดก็ยังไม่ถูกระบุแน่ชัด จากการศึกษาพบว่ามันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรา (Lifestyle) ประกอบกัน เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเรียกว่า อ้วน , ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย , มีไขมันในเลือดสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

.

Check-list ความเสี่ยงเบาหวาน เมื่อใกล้เป็นโรคเบาหวานนั้นหมายถึงค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้มีความเสี่ยงมักสูงผิดปกติ จึงมีสัญญาณบางอย่างที่สามารถสังเกตได้จากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น เช่น

.

  • อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
  • ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
  • ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดขา ปวดเข่า
  • ผิวหนังแห้ง และมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
  • เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
  • อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
  • แผลหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือขึ้นสะเก็ดเสียที

.

หากตรวจพบตาม Check-list ว่ามีความเสี่ยงโรคเบาหวานควรเริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ แม้ปัจจัยเสี่ยงด้านพันธุกรรมจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การควบคุมปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคเบาหวานได้เยอะมาก

.

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

.

อ้างอิงข้อมูล : หมอชาวบ้าน, honestdocs

PreBS

ทางเลือกเพื่อป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวาน โดยสารสกัดจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ไม่สร้างภาระให้ไต