เด็กวัยไหนควรสูงเท่าไหร่ เช็คได้จาก “ตารางส่วนสูง”

เด็กวัยไหนควรสูงเท่าไหร่ เช็คได้จาก ตารางส่วนสูง

พัฒนาการของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องของ “ส่วนสูง” ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตทางกายภาพที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุด และสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักเป็นกังวลอยู่เสมอว่าลูกเราเตี้ยไปหรือไม่ สูงไม่ทันเพื่อนหรือเปล่า และจริง ๆ แล้ววัยของลูกน้อยเรานั้นควรจะสูงเท่าไหร่ถึงเรียกได้ว่าดี?


โดยทั่วไปอัตราการเพิ่มส่วนสูงของเด็กแต่ละคนในแต่ละช่วงวัยนั้นล้วนมีความแตกต่างกันออกไป โดยช่วงวัยรุ่นจะเป็นช่วงที่ลูกน้อยมีอัตราการเพิ่มส่วนสูงมากที่สุด และจะหยุดลงเมื่อมีอายุ 20 ปี หากคุณพ่อคุณแม่เป็นคนหนึ่งที่สงสัยว่าลูกเราอายุเท่านี้ ควรจะมีความสูงเท่าไหร่ ตัวเล็กไปหรือไม่เมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน อาจดูได้จาก “ตารางแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กแต่ละวัย” ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการเสริมพัฒนาการลูกน้อยได้ ตามตารางที่แสดงด้านล่างนี้


ตารางแสดงส่วนสูงตามมาตรฐานของทารกเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่แรกเกิดถึง
12 เดือน

อายุ ส่วนสูงเพศชาย (ซ.ม.) ส่วนสูงเพศหญิง (ซ.ม.)
แรกเกิด 47.6 – 53.1 46.8 – 52.9
1 เดือน 50.4 – 56.2 49.4 – 56.0
2 เดือน 53.2 – 59.1 52.0 – 59.0
3 เดือน 55.7 – 61.9 54.4 – 61.8
4 เดือน 58.1 – 64.6 56.8 – 64.5
5 เดือน 60.4 – 67.1 58.9 – 66.9
6 เดือน 62.4 – 69.2 60.9 – 69.1
7 เดือน 64.2 – 71.3 62.6 – 71.1
8 เดือน 65.9 – 73.2 64.2 – 72.8
9 เดือน 67.4 – 75.0 65.5 – 74.5
10 เดือน 68.9 – 76.7 66.7 – 76.1
11 เดือน 70.2 – 78.2 67.7 – 77.6
12 เดือน 71.5 – 79.7 68.8 – 78.9


ตารางแสดงส่วนสูงตามมาตรฐานของเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่อายุ 1 – 18 ปี

อายุ ส่วนสูงเพศชาย (ซ.ม.) ส่วนสูงเพศหญิง (ซ.ม.)
1 ปี 71 – 79 68 – 78
2 ปี 81 – 92 79 – 91
3 ปี 88 – 101 86 – 100
4 ปี 95 – 110 93 – 108
5 ปี 103 – 117 99 – 115
6 ปี 106 – 124 105 – 122
7 ปี 112 – 130 110 – 129
8 ปี 117 – 135 115 – 135
9 ปี 121 – 141 120 – 141
10 ปี 125 – 146 125 – 148
11 ปี 129 – 153 130 – 155
12 ปี 134 – 160 135 – 160
13 ปี 139 – 168 140 – 162
14 ปี 145 – 173 144 – 165
15 ปี 152 – 176 146 – 165
16 ปี 157 – 178 147 – 166
17 ปี 159 – 180 148 – 166
18 ปี 161 – 180 150 – 167

มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสูงของลูก ไม่ว่าจะเป็นเพศ, กรรมพันธุ์, โภชนาการ, การพักผ่อนนอนหลับ ฯลฯ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยของเรานั้นตกเกณฑ์มาตรฐานตามตาราง อาจดูแลเพิ่มเติมได้ตามแนวทางต่าง ๆ ดังนี้


1. อาหารและโภชนาการ ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ให้สูงสมส่วนตามวัย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ นม ไข่ ชีส โยเกิร์ต ผักใบเขียว เป็นต้น

2. การออกกำลังกาย เน้นให้ลูกน้อยได้ออกกำลังกายประเภทที่มีการยืดเหยียดตัว เช่น กระโดดเชือก ว่ายน้ำ บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เป็นต้น ทำให้ร่างกายเกิดความยืดหยุ่นและมีการยืดตัวของกระดูกมากขึ้น และทำให้ลูกน้อยแข็งแรง

3. การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ได้หลั่งอย่างเต็มที่ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มส่วนสูง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ฮอร์โมนชนิดนี้จะหลั่งออกมานั้นจะอยู่ในช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตี 5 ดังนั้นจึงควรให้ลูกนอนตั้งแต่หัวค่ำ จึงจะได้รับประโยชน์จากฮอร์โมนชนิดนี้มากที่สุด


พัฒนาการของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อาจมองข้ามได้ เมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาทองของการเพิ่มส่วนสูงได้ผ่านพ้นไป การเพิ่มส่วนสูงก็อาจทำได้ยากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อย สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่จาก Interpharma เพื่อขอคำแนะนำได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีที่สุด


ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand

นมวัวถือเป็นอาหารพื้นฐานที่หลาย ๆ บ้านมักมีติดไว้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กวัยกำลังโตอาศัยอยู่ด้วย เพราะในความเข้าใจของคนโดยทั่วไป การให้เด็กวัยกำลังโตดื่มนมเป็นประจำทุกวันร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มส่วนสูงได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว แต่เพียงแค่ครึ่งเดียว เพราะสารอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มส่วนสูงโดยตรงนั้นกลับไม่ใช่โปรตีนหรือแคลเซียม แต่เป็น CBP ต่างหาก

CBP หรือ Concentrated Bioactive Protein โปรตีนที่พบในน้ำนมวัว เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูก ทั้งยังมีสรรพคุณในการช่วยเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต ขยายใหญ่และยาวขึ้นในช่วงวัยกำลังโต 12 – 18 ปี ยิ่งเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายสูงขึ้นได้มากเท่านั้น

นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการดื่มนมเป็นประจำทุกวันถึงช่วยทำให้เด็กสูงขึ้นได้ ก็เพราะ CBP ที่อยู่ในนมวัวนี่เองที่ถือเป็นพระเอกของเรื่องนี้ ทั้งนี้มีเด็กบางคนที่ดื่มนมเท่าไหร่ก็สูงช้า หรือไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็น เกิดจากอะไร?

อย่างแรกเลยก็คือในเรื่องของกรรมพันธุ์ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สูง ลูกก็มีโอกาสไม่สูงได้ ต่อมาในเรื่องของการออกกำลังกาย หากเด็กขาดการออกกำลังกายร่วมด้วย ก็มีโอกาสเตี้ยได้เช่นกัน รวมถึงในเรื่องของความเจ็บป่วยต่าง ๆ การขาดฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุได้เช่นกัน

แต่หากไม่ใช่ 3 ปัจจัยข้างต้นนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่กลับมาดูในเรื่องของอาหารการกินว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ หากกินนมเป็นปกติแต่ยังสูงช้าอยู่ ก็อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับ CBP ไม่เพียงพอที่จะช่วยทำให้กระดูกยืดขยายได้

เพราะในนมวัวนั้นมีปริมาณ CBP อยู่น้อยมาก โดยใน 1 ลิตรนั้นมีปริมาณ CBP อยู่เพียง 1.5 มิลลิกรัมเท่านั้น จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ลูกน้อยสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และคงไม่ดีนักที่จะให้ลูกน้อยดื่มนมเพิ่มไปอีกเยอะ ๆ เพราะในนมไม่ได้มีแต่โปรตีนและแคลเซียม แต่ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ อย่างไขมันอีก อาจทำให้อ้วนขึ้นได้


เพื่อให้ได้รับ CBP ในปริมาณที่มากขึ้น ปัจจุบันจึงมีความพยายามที่จะสกัด CBP ออกมาจากนมวัวโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จแล้วใน PreBO โภชนเภสัชเพื่อสุขภาพกระดูกจาก Interpharma โดยใน 1 เม็ดมีปริมาณ CBP มากถึง 80 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่าการดื่มนมวัว 53 ลิตรในครั้งเดียว แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage powder), วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน

รีวิวจากผู้ใช้จริง

เพราะช่วงเวลาของความสูงมีจำกัด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป เสริม CBP ให้ลูกน้อยในช่วงวัยที่ยังสูงได้ ให้ลูกน้อยสูงเร็วขึ้น มีพัฒนาการที่สมวัย


สนใจผลิตภัณฑ์ PreBO จาก Interpharma สามารถสอบถามได้ที่ร้านขายยา LAB Pharmacy ทุกสาขา หรือสอบถามเภสัชกรโดยตรงที่ Call Center 094-956-9536 หรือ Line @interpharma

ที่มา: “Journal of food science and nutrition” Vol. 12 (2007), No. 1 pp. 1-6