“ภูมิคุ้มกัน” ปราการด่านแรกป้องกันเชื้อโรคร้าย

ภูมิคุ้มกัน ปราการด่านแรกป้องกันเชื้อโรคร้าย

ในสถานการณ์ที่เชื้อ COVID-19 กลับมาแพร่ระบาดอีกระลอก การดูแลรักษาตัวเองให้สุขภาพแข็งแรงจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องกลับมาให้ความใส่ใจอีกครั้ง แม้จะรักษาความสะอาดอย่างดี ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้านแล้วก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจไม่แพ้กันก็คือระบบภูมิคุ้มกันนี่เอง

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา เซลล์ที่เสื่อมสภาพ รวมถึงเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ที่จะก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง นี่คือหน้าที่คร่าว ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน

ในร่างกายของแต่ละคนมีความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันออกไป บางคนป่วยง่าย บางคนนาน ๆ ป่วยที ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง หากร่างกายเกิดภาวะภูมิต้านทานต่ำ เชี้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เราป่วยง่ายและป่วยบ่อย การเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพดี ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. กินสู้โรค พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีมาจากการได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ควรเสริมด้วยสารอาหารที่เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง เช่น สารภูมิคุ้มกันจำพวก IgG, sIgA, Lactoferrin ช่วยลดอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่นอาการแพ้อากาศ แพ้ฝุ่นละออง, ลดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ, ลดการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เช่น แบคทีเรียและไวรัส

2. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้ได้ 7 – 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังควรเข้านอนเร็วเพื่อให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน DHEA ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและชาย ทำหน้าที่ช่วยต้านความเครียดและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีความแข็งแรงพอที่จะจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไปก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันตก ทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายขึ้น จึงควรออกกำลังกายแต่พอดี วันละ 30 – 60 นาทีต่อวันอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว

4. ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเป็นการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้กระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาที่ปอดแย่ลง เซลล์ปอดเกิดการอักเสบสะสมเรื้อรัง ทำให้สิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้ง่ายขึ้น

5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่เครียด พยายามทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเครียด หรือที่เรียกว่าคอร์ทิซอลมากเกินไป จนส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้แย่ลง และเมื่อจิตใจปลอดโปร่ง จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน DHEA ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

ในช่วงที่ไวรัสเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดและสวมหน้ากากอนามัย การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันสู้โรคให้แข็งแรง ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคได้แล้ว ยังส่งผลให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย


ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

ProImmo

โภชนเภสัชในน้ำนมแม่เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย วิจัยและพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น