“โปรไบโอติก” ช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือ?

หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องแบคทีเรียในลำไส้ หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ในลำไส้อย่าง โปรไบโอติก ที่ส่งผลต่อความอ้วน เช่นว่า  โปรไบโอติกช่วยทำให้หน้าท้องแบนราบ ช่วยลดความอ้วน กินแล้วผอม หากแต่ความเป็นจริงแล้ว เชื้อจุลินทรีย์ที่ว่านี้สามารถช่วยให้คุณสามารถผอมเพรียวหรือลดความอ้วนได้จริงหรือ?

 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “แบคทีเรียนในลำไส้มีผลต่อการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน” ดังนั้น หากแบคทีเรียในลำไส้เสียสมดุล ทำให้ความหลากหลายของแบคทีเรียลดจำนวนลง ซึ่งหาก “แบคทีเรียที่เป็นมิตร” ต่อร่างกายมีปริมาณต่ำ ในขณะที่ “แบคทีเรียให้โทษ” เพิ่มจำนวนขึ้นจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสารพิษ Endotoxin นำไปสู่การอักเสบในระดับโมเลกุล ส่งผลให้ร่างกายเก็บสะสมไขมันมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคอ้วน

 

หลักการที่ว่านี้ สอดคล้องกับการค้นพบในระบบอุตสาหกรรมปศุสัตว์ กล่าวคือ สัตว์ที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียที่มีตามธรรมชาติในร่างกายให้หมดไป จะมีน้ำหนัก ‘เพิ่มขึ้น’ เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวินะซึ่งแบคทีเรียในร่างกายจะไม่ถูกทำลาย ดังนั้น การศึกษาเบื้องต้นนี้จึงเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึงการเกิดผลกระทบแบบเดียวกันกับร่างกายของมนุษย์ในยามที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรแบคทีเรียในลำไส้

 

ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจอีกต่อไปว่าทำไมบางคนถึงกินน้อยแล้วยังอ้วน หรือกินเยอะแล้วยังผอม เพราะหนึ่งปัจจัยของความอ้วนนั้นขึ้นอยู่กับ แบคทีเรียในลำไส้ และเมื่อมองถึงต้นทางที่แท้จริงก็จะพบว่า อาหารที่เรากินนั้นเองจะเป็นตัวกำหนดชนิดของแบคทีเรียนั่นเอง

 

ข้อมูลจาก : หนังสือ Microbiota โดย หมอผิง พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล, เว็บไซต์ Siriraj E-Public Library และ โปรไบโอติก มหัศจรรย์จุลินทรีย์ ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพดี

ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand