4 ประเภทอาหารกวนโรคลำไส้แปรปรวน

อาหารที่เราบริโภคนั้นมีผลต่อการกำหนดประเภทและความหลากหลายของแบคทีเรียในลำไส้
ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบย่อย
จะช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวนหรือลำไส้ระคายเคืองได้

4 ประเภทอาหารที่ควรงดรับประทานเพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มอาการไม่สบายท้อง
ที่อาจครอบคลุมถึงอาการท้องอืด แน่นท้องอึดอัดท้อง ท้องผูกสลับท้องเสีย
อาการถ่ายอุจจาระไม่หมด หรืออุจจาระมีมูกปน มีดังต่อไปนี้

1) อาหารไขมันสูง: อาหารประเภทนี้ย่อยยากและตกค้างอยู่ในกระเพราะและลำไส้นานกว่าอาหารชนิดอื่น
ก่อให้เกิดการหมักหมม มีแก๊สคั่งค้าง ทำให้อาการลำไส้แปรปรวนกำเริบ

2) กาแฟ: อาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักรุนแรงขึ้น เมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เนื่องจากจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ

3) นมวัว: หรือ ผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากนมมีไขมันสูง และมีโปรตีนที่เรียกว่า ‘คาเซอีน’
และ ‘แล็กโตโกลบูลิน’ ซึ่งคนไทยในอัตราส่วนค่อนข้างมาก มักมีอาการแพ้
หากรับประทานจะทำให้ลำไส้บวม ควรงดอย่างเด็ดขาด

4) ช็อกโกแลต: แม้จะมีงานวิจัยออกมาว่าการรับประทานช๊อกโกแลตคุณภาพในปริมาณที่พอเหมาะ
มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากช๊อกโกแลตประกอบไปด้วย ‘คาเฟอีน’ และ ‘ทีโอโบรมีน’
ทั้ง 2 สารนี้สามารถกวนการทำงานของลำไส้ได้
เพื่อสร้างสมดุลและแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่
ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน ควรหันมาดูแลพฤติกรรมการกินอาหาร
โดยปรับเปลี่ยนอาหาร รับประทานสารอาหารที่จัดว่าเป็น “พรีไบโอติก” (Prebiotics)

เนื่องจากพรีไบโอติกเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถย่อยได้และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร
ทั้งในกะเพราะอาหารและลำไส้เล็ก แต่แบคทีเรียในกลุ่ม lactic acid จะสามารถย่อยพรีไบโอติกที่บริเวณลำไส้ใหญ่
ซึ่งจะช่วยในการกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
และทำให้ลดการเกิดอาการลำไส้แปรปรวน

 

ข้อมูลจาก : เว็บไซต์นิตยสารขวัญเรือน (คอลัมน์เพื่อชีวิตและสุขภาพ ฉบับที่ 1084 ปักษ์หลังมกราคม 2560) และเว็บไซต์หาหมอ
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand