บทที่ 3 : ประโยชน์ของ Inulin และ Fructooligosaccharide (FOS)

อินนูลินและ FOS กับการช่วยควบคุมน้ำหนัก
การบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งอินนูลินปริมาณ 8 – 20 กรัม ร่วมกับมื้ออาหารนั้น พบว่าช่วยให้รู้สึกอิ่มและควบคุมพลังงานท่ีได้รับจากอาหารสู่ร่างกายได้ บางรายงานพบว่าการบริโภค FOS ปริมาณ 16 กรัมต่อวันสามารถช่วยทำให้รู้สึกอิ่มและควบคุมพลังงานที่ได้รับต่อวันจากอาหารได้อีกด้วย

อินนูลินกับการบรรเทาอาการท้องผูก
จากคุณสมบัติความเป็นใยอาหาร การบริโภคนาน 2 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความถี่ของการขับถ่ายและเพิ่มมวลอุจจาระได้ จึงนับว่าอินนูลินมีประโยชน์มากในเรื่องของการขับถ่าย
โดยเฉพาะเกิดประโยชน์กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาของการขับถ่าย

FOS ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากอาหาร
เนื่องจาก ค่าดัชนีน้าตาล (glycemic Index, GI) มีความสัมพันธ์กับโรค หลายๆ ชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดท่ี 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นค่าดัชนีน้าตาล จึงเป็นค่าหน่ึงท่ีกำหนดในการเลือกอาหารบริโภค เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่กล่าวมา โดยเฉพาะการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน และเราพบว่ามนุษย์ไม่สามารถย่อยอินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ได้ จึงทำให้ไม่ถูกย่อยเป็นน้ำตาลและไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ค่า GI จึงเกือบเป็นศูนย์
การศึกษาที่ผ่านมาของการบริโภคฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ปริมาณ 8 กรัม นาน 2 สัปดาห์ ช่วยลดระดับน้าตาลหลังอดอาหาร (fasting blood glucose) ในผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ในผู้มีสุขภาพดี การควบคุมระดับน้ำตาลหลังอดอาหารได้น้ัน เกิดจากกรดท่ีได้จากกระบวนการหมักเส้นใยจากจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยเฉพาะกรด โพรพิโอนิกที่สามารถช่วยยับยั้งกระบวนการสร้าง น้ำตาลจากตับ (hepatic gluconeogenesis) การเลือกบริโภค FOS จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดข้ึนได้ในอนาคต

การช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุแคลเซียมในลำไส้

มีการศึกษาอินนูลินและโอลิโกฟรุกโตส โดยจากรายงานการศึกษาของ Griffin และคณะ แสดงผลของการใช้ FOS อย่างเดียว และ การใช้ร่วมกันของอินนูลินและ FOS เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมนาน 3 สัปดาห์ พบผลการดูดซึมแคลเซียมดีจนแตกต่างจากกลุ่มควบคุมสูงถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะกลุ่มที่ ได้รับอินนูลินและFOSร่วมกันให้ผลดีที่สุด
นอกจากนั้นยังพบประโยชน์ในการช่วยดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม เหล็กและสังกะสี จึงนิยมให้ในวัยเจริญพันธุ์เพื่อเป็นตัวเสริมในการเจริญเติบโตและใช้ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในอนาคตของวัยทอง

ช่วยรักษาสมดุลระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด
จากรายงานการบริโภคอินนูลิน หรือฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ 8 – 20 กรัม นาน 4 สัปดาห์ ช่วยควบคุมระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีนัยสาคัญ ด้วยกลไกการ ควบคุมจากการเกิดอะซิเตต (acetate) และโพรพิโอเนต (propionate) ท่ีสร้างข้ึนจากกระบวนการหมักอินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ในลำไส้ นอกนั้นการศึกษาของ Letexier และคณะพบว่าการบริโภคอินนูลินปริมาณ 10 กรัม สามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการลดสร้างไขมันจากตับ (lipogenesis)

ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เนื่องจากอินนูลิน และFOS เป็นใยอาหารท่ีอุ้มน้าได้ดี ช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหารในลำไส้จึง กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น และในขณะที่กากใยเหล่านี้เกิดการหมักจากแบคทีเรียที่ดีจึงทำให้สร้างกรดบิวทิริกและกรดโพรพิโอนิก ซึ่งสามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ รวมท้ังการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (synbiotic) ของใยอาหารอินนูลิน,FOS และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ตระกูล Lactobacillus และ Bifidobacterium ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมากขึ้น

ลดจุลินทรีย์ก่อโรคทางอ้อมจากความเป็นพรีไบโอติก
อินนูลินและ FOS มีคุณสมบัติมากกว่าใยอาหารท่ัวไปคือ มีคุณสมบัติความเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่สามารถเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ของมนุษย์ได้ จึงช่วยลดจุลินทรีย์ท่ีก่อโรค (pathogenic organism) และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย

บทความโดย บทความโดย นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชศาสตร์การกีฬา ศูนย์ Vitallife Wellness Center ร.พ.บำรุงราษฎร์
.
อ้างอิงจาก
Welch RW, Kelly MT, Gallagher AM, Wallace JM, Livingstonet MBE. The effects of inulin-type fructans on satiety and energy intake: human studies. Agro Food Industry Hi-tech. 2008;5(5):4-6.
Cani PD, Joly E, Horsmans Y, Delzenne NM. Oligofructose promotes satiety in healthy human: a pilot study. Eur J Clin Nutr. 2006; 60(5):567-72.
Kleessen B, Svkura B, Zunft H-J, Blaut M. Effects of inulin and lactose on fecal micro- flora, microbial activity, and bowel habit in elderly constipated persons. Am J Clin Nutr. 1997; 65:1397-402.
Hond ED, Geypens B, Ghoos Y. Effect of high performance chicory inulin on consti- pation. Nutr Res. 2000;20:731–6.
Barclay AW, Petocz P, McMillan-Price J, Flood VM, Prvan T, Mitchell P, Brand-Miller JC. Glycemic index, glycemic load, and chronic disease risk-a meta-analysis of observational studies. Am J Clin Nutr. 2008; 87(3):627-37.
Yamashita K, Kawai K, Itakura M. Effects of fructo-oligosaccharides on blood glucose and serum lipids in diabetic subjects. Nutr Res. 1984;4(6):961-6.
Luo J, Yperselle MV, Rizkalla SW, Rossi F, Francis R. J. Bornet, Slama G. Chronic consumption of short-chain fructooligosac- charides does not affect basal hepatic glucose production or insulin resistance in Type 2 Diabetics. J Nutr. 2000;130(6): 1572–7.
Luo J, Rizkalla SW, Alamowitch C, Boussaini A, Blayo A, Jean-Luc Barry,
Griffin IJ, Davila PM, Abrams SA. Non- digestible oligosaccharides and calcium absorption in girls with adequate calcium intakes. Br J Nutr. 2002;87(Suppl. 2):S187- 91.
Abrams SA, Hawthorne KM, Aliu O, Hicks PD, Chen Z, Griffin IJ. An inulin-type fructan enhances calcium absorption primarily via an effect on colonic absorption in humans. J Nutr. 2007;137(10):2208-12.
Coudray C, Bellanger J, and Castiglia- Delavaud C, Rémésy C, Vermorel M, Rayssignuier Y. Effect of soluble or partly soluble dietary fibres supplementation on absorption and balance of calcium, magnesium, iron and zinc in healthy young men. Eur J Clin Nutr. 1997;51(6):375-80.
Lobo AR, Colli C, Filisetti TMCC. Fructo- oligosaccharides improve mass and bio- mechanical properties in rats. Nutr Res. 2006;26(8):413-20.
Abrams SA, Griffin IJ, Hawthorne KM, Liang L, Gunn SK, Darlington G, et al. A combination of prebiotic short-and long-chain inulin-type fructans enhances calcium absorption and bone mineralization in young adolescents. Am J Clin Nutr. 2005;82(2): 471-6.
Holloway L, Moy niham S, Abrams SA, Kent K, Hsu AR, Friedlander AL. Effects of oligo- fructose-enriched inulin on intestinal absorption of calcium and magnesium and bone turnover markers in post-menopausal women. Br J Nutr. 2007;97(2):365-72.
Laffitte A, Bonnet FR, Slama G. Chronic consumption of short-chain fructooligo- saccharides by healthy subjects decreased basal hepatic glucose production but had no effect on insulin-stimulated glucose. Am J Clin Nutr. 1996; 63(6):939-45.
Roberfroid MB, Delzenne NM. Dietary fructans. Annu Rev Nutr. 1998;18(1):117-43. 2.Letexier D, Diraison F, Beylot M. Addition of
inulin to a moderately high-carbohydrate diet reduces hepatic lipogenesis and plasma tri- acylglycerol concentrations in humans. Am J Clin Nutr. 2003;77(3):559-64.
Pool-Zobel BL. Inulin-type fructans and reduction in colon cancer risk: review of experimental and human data. Br J Nutr. 2005;93(Suppl 1):S73-S90.
Rafter J, Bennett M, Caderni G, Clune Y, Hughes R, Karlsson PC. et al. Dietary synbiotics reduce cancer risk factors in poly- pectomized and colon cancer patients. Am J Clin Nutr. 2007;85(2):488-96.
Meyer M, Stasse-Wolthuis M. The bifidogenic effect of inulin and oligofructose and its consequences for gut health. Eur J Clin Nutr. 2009;63(11):1277-89.
Rao VA. The prebiotic properties of oligo- fructose at low intake levels. Nutr Res. 2001;21(6):843-8.
Krusse H, Kleessen B, Blaut M. Effect of inulin on faecal bifidobacteria in human subjects. Br J Nutr. 1999;82(5):375-82.
Elzbieta B, Maria B. Prebiotic effective-ness of fructans of different degrees of polymerization. Trends Food Sci Tech: 2004;15(3-4):170-5.
van de Wiele T, Boon N, Possemiers S, Jacobs H, Verstraete W. Inulin-type fructans
of longer degree of polymerization exert more pronounced in vitro prebiotic effects. J Appl Microbiol. 2007;102(2):452-60.
http://www.nutritionthailand.or.th/upload/magazine/JNAT53-2Website_reduce.pdf

.
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand

Inufos